กระปุกลายครามขนาดย่อมสองหู จากหยวน(มองโกล)ที่พบในสยาม
- Artemis
- 30 ต.ค. 2566
- ยาว 1 นาที
ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 13 ช่วงที่ กุบไลข่าน ผู้ก่อตั้งราชวงศ์หยวน ประกาศนโยบายสร้างความ ‘มั่งคั่ง’ ให้กับราชวงศ์หยวน ท่านข่านผู้ครองแผ่นดินจีนได้เข้าควบคุม ‘ตลาดส่งออก’ ด้วยการกินรวบทั้งทางน้ำและทางบก!!
และด้วยเหตุนี้เอง ‘เส้นทางสายไหม’ ที่เคยถูกปิดไปในสมัยราชวงศ์ซ่ง ได้กลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง ส่งผลให้การผลิตเครื่องเคลือบ สามารถนำโคบอลท์ จากเปอร์เซีย กลับมาใช้อีกครั้ง!!
‘ลวดลายสีดำ’ ที่เคยใช้วาด ถูกแทนที่ด้วย ‘ครามสีเข้ม’ จากเปอร์เซีย!! ซึ่งไม่ได้ใช้เพียงแค่เอาครามมา ‘แต่งแต้ม’ เหมือนสมัยราชวงศ์ถัง และสีครามนี้ก็ถูกใช้วาดแทนเทคนิค ‘การขูด’ และการ ‘ปั๊มกด’
กระปุกขนาดย่อมชิ้นนี้ ผลิตที่จิงเต๋อเจิ้น กลางคริสต์ศตวรรษ 14 เป็นลายคราม วาดลายกิ่งไม้ ใบไม้ ดอกไม้ วาดลวดลายแบบง่ายๆ เป็นลายเส้น วาดพู่กันตวัดสั้นๆ ยกปลายแหลม สไตล์ตระกูลช่างสมัยราชวงศ์หยวน
รูปทรงพิเศษอยู่ ที่ส่วน 'หูกระปุก' สองด้านจะปั้นแบบแบนๆ แล้วนำมาม้วนติดไว้ทีช่วงคอกระปุก ใต้ก้นไม่ได้เคลือบ ตัวกระปุกมีขนาดสูง 5 ซม.
กระปุกนี้เป็นตัวอย่างอันมีค่าของเครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงศ์หยวน เป็นเครื่องเตือนใจถึงความเฟื่องฟูของการค้าระหว่างจีนกับตะวันตกในช่วงเวลานี้
Comments