top of page
  • Black Facebook Icon
  • Black Instagram Icon
  • Youtube
  • Black Pinterest Icon

จานรองลาย "ช่อผลไม้" สมัย Interregnum

  • รูปภาพนักเขียน: Artemis
    Artemis
  • 28 ธ.ค. 2566
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 28 ม.ค. 2567




ในสมัยอยุธยา การค้าขายกับจีนมีความสำคัญอย่างยิ่ง สินค้าที่ส่งออกจากจีนไปยังสยาม ได้แก่ เครื่องถ้วย ผ้าไหม ชา เกลือ ฯลฯ ส่วนสินค้าที่ส่งออกจากสยามไปยังจีน ได้แก่ ไม้สัก หนังสัตว์ พริกไทย ฯลฯ

การค้าขายระหว่างสองประเทศนี้ทำผ่านระบบบรรณาการ โดยทางสยามจะส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีนเป็นประจำทุกปี และทางจีนก็จะตอบแทนด้วยการส่งเครื่องราชบรรณาการกลับมา


จานรองใบนี้ผลิตในช่วงเหตุการณ์ Interregnum ของจีน ตรงกับรัชศกจิ่งไท่ (景泰) ในช่วงปลายยุคบ้านเมืองวุ่นวาย ช่วงเวลานี้การผลิตเครื่องถ้วยของเตาเอกชนมีจำนวนน้อย และการค้าขายกับต่างประเทศอยู่ในช่วง "ช่องว่างหมิง" (Ming Gap) ซึ่งทางจีนห้ามมิให้มีการซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนสินค้าในช่วงนี้จึงทำในรูปแบบการค้าแบบคณะราชทูตบรรณาการรัฐต่อรัฐ สินค้าที่ส่งออกเพื่อไปค้าขายยังประเทศต่างๆ รวมถึงสยามด้วย แต่ในช่วงรัชศกจิ่งไท่และช่วงแรกของรัชศกเจิ้งถ่ง การค้าขายแบบนี้หยุดชะงักหรือมีจำนวนน้อย



ลักษณะของจานรองใบนี้ใช้สีครามจากโคบอลต์ (Sulimani) ที่ออกสีน้ำเงินแซฟไฟร์แบบที่ใช้ในสมัยหยวน ลวดลายเป็นใบไม้แบบใบป้อมๆ (บางตำราตีเป็นโมทีฟผลไม้) ส่วนใบไม้ที่ปลายเถาวาดแบบตวัดปลายใบแหลม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของช่างวาดในสองรัชกาลนี้


ภาชนะชิ้นนี้ทำขึ้นที่ จิงเต๋อเจิ้น จากลวดลายและฝีมือการใช้พู่กันที่สวยงาม น่าจะเป็นเครื่องถ้วยในชุดบรรณาการที่ส่งมาถวายแก่กษัตริย์สยามในรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (ค.ศ. 1448-1488) ที่มีหลักฐานการส่งคณะราชทูตไปยังจีนถึง 4 ครั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอยู่ในช่วงที่ดี จานใบนี้พบที่จังหวัดนครสวรรค์ มีขนาด 20 ซม.


แหล่งข้อมูล:

"ยิวเส็งไท" (MING GAP AND THE REVIVAL OF COMMERCIAL PRODUCTION OF BLUE AND WHITE PORCELAIN IN CHINA) ตีพิมพ์ที่เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน;พฤศจิกายน 2004

Comments


bottom of page